การพัฒนาหลักสูตรและรายวิชาศึกษาทั่วไป

การพัฒนาหลักสูตรและรายวิชาศึกษาทั่วไป

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

  1. นิยามเกี่ยวกับคำศัพท์ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
    • “หมวดวิชาศึกษาทั่วไป” หมายถึง หมวดวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ให้พร้อมสำหรับโลกในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้เป็นบุคคลผู้ใฝ่รู้และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 อย่างครบถ้วน เป็นผู้ตระหนักรู้ถึงการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา เป็นผู้ที่สามารถสร้างโอกาสและคุณค่าให้ตนเองและสังคม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก เป็นบุคคลที่ดำรงตนเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีจริยธรรมและยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง รู้คุณค่าและรักษ์ชาติกำเนิด ร่วมมือรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคม (ที่มา: ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565)
    • “หมวดวิชาเฉพาะ” หมายถึง วิชาเฉพาะด้าน วิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้
    • “รายวิชาศึกษาทั่วไป” หมายถึง รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ของมหาวิทยาลัยมหิดล ครอบคลุมรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนโดยมหาวิทยาลัย รายวิชา รายวิชาที่เปิดเพื่อบริการหลักสูตร/ส่วนงานอื่น และรายวิชาที่เปิดสอนเฉพาะบางหลักสูตร
    • “รายวิชาศึกษาทั่วไป บัญชีกลาง” หมายถึง รายวิชาศึกษาทั่วไปที่เปิดสอนแก่นักศึกษาทุกหลักสูตร (หลักสูตรไทย/หลักสูตรนานาชาติ) ในระดับปริญญาตรี และผ่านการพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีในระดับรายวิชา
    • “รายวิชาศึกษาทั่วไป วิชาแกน” หมายถึง รายวิชาศึกษาทั่วไป บัญชีกลาง ที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาเรียนตามประกาศโครงสร้างหลักสูตร
    • “รายวิชาศึกษาทั่วไป ส่วนงาน” หมายถึง รายวิชาศึกษาทั่วไป ที่เปิดสอนเฉพาะบางหลักสูตร โดยเสนอเปิดรายวิชาพร้อมกับการเสนอเปิดหลักสูตรใหม่ เช่นเดียวกับรายวิชาเฉพาะ
  2. โครงสร้างหลักสูตร และโครงสร้างหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
    • [หลักสูตรไทย] ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การกำหนดโครงสร้างหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ระดับปริญญาตรี (หลักสูตรไทย) พ.ศ. 2566 (ประกาศวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566) สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี (หลักสูตรไทย) ที่เข้าสู่กระบวนการขออนุมัติเปิด/ปรับปรุงหลักสูตร หลัง วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566 คลิกที่นี่

การขอเปิดรายวิชาใหม่/ปรับปรุงรายวิชา ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

  1. ขั้นตอนการเตรียมรายวิชา
    • ศึกษาเงื่อนไข และคุณสมบัติของรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน
      • ข้อแนะนำในการออกแบบรายวิชาตามแนวทางของ Outcome-Based Education (OBE)
      • ข้อแนะนำในการตั้งผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (CLO)
      • ข้อแนะนำในการออกผลการศึกษาแบบไม่มีแต้มประจำ (O/S/U)
      • นิยามกลุ่ม Literacy ในศตวรรษที่ 21 คลิกที่นี่
      • ผลลัพธ์การเรียนรู้สำหรับรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (MUGE-LOs) คลิกที่นี่
    • จัดทำรายละเอียดรายวิชา (มม.3/MU3) ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ/คำอธิบาย
  2. การเสนอเปิดรายวิชาใหม่ต่อมหาวิทยาลัย สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์กองบริหารการศึกษา คลิกที่นี่
    • ทำหนังสือขอเปิดรายวิชา เรียนรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา พร้อมทั้งแนบเอกสารดังนี้
      • แบบฟอร์มรายละเอียดในการเสนอขอเปิดสอนรายวิชา (สมอ.08) คลิกเพื่อดูเอกสาร
      • รายละเอียดรายวิชา (มม.3/MU3)
      • ผลการพิจารณาจัดกลุ่ม Literacy โดยศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต*
  3. การติดตามเสนอเปิดรายวิชาใหม่และปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาที่เสนอ
    • ติดตาม และตรวจสอบกำหนดการประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรระดับต่ำกว่าปริญญาและปริญญาตรี คลิกที่นี่

หมายเหตุ: (*) หากรายวิชาที่เสนอเปิดใหม่/ปรับปรุง ยังไม่ได้รับการพิจารณาจัดกลุ่ม Literacy ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิตจะนำรายละเอียดรายวิชาฉบับที่แนบมาพร้อมกับหนังสือเสนอเปิดรายวิชาเข้าที่ประชุมคณะอนุทำงานพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อพิจารณาจัดกลุ่ม Literacy ก่อนแนบผลการพิจารณาฯ ส่งต่อไปยังกองบริหารการศึกษา เพื่อดำเนินการนำรายวิชาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรระดับต่ำกว่าปริญญาและปริญญาตรี ต่อไป

เอกสารสำหรับอ้างอิง

  • [หลักสูตรไทย] ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การกำหนดโครงสร้างหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ระดับปริญญาตรี (หลักสูตรไทย) พ.ศ. 2566 (ประกาศวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566) สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี (หลักสูตรไทย) ที่เข้าสู่กระบวนการขออนุมัติเปิด/ปรับปรุงหลักสูตร หลัง วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566 คลิกที่นี่
  • [หลักสูตรไทย] ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การกำหนดโครงสร้างหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ระดับปริญญาตรี (หลักสูตรไทย) พ.ศ. 2565 (ประกาศวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565) คลิกที่นี่

ติดต่อเพื่อรับคำปรึกษาในการพัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไป

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต
(Center for Life-integrated Learning, Mahidol University)
โทร. 02-849-4586, 02-849-4587, 02-849-4653
อีเมล lifelonglearning@mahidol.edu